วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1

งานประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการจัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ณ ห้องประกันคุณภาพการศึกษา โดยเริ่มต้นพูดคุยกันเวลา 10.45 - 12.00 น.

โดยเริ่มต้นด้วยการสอบถามปัญหาการจัดส่งข้อมูลต่างๆ ที่สาขาวิชา/หน่วยงาน พบว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งสรุปได้ดังนี้


ปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา

  • หน่วยงานต้องส่งเอกสารซ้ำจากที่เคยส่งมาก่อนแล้ว เช่น เอกสารส่งไปให้กับงานบริหารทรัพยากรบุคคลแล้ว แต่งานประกันฯ มาขอที่หน่วยงานอีก เป็นต้น ซึ่งงานประกันควรประสานขอเอกสารจากงานต่างๆ ในส่วนสนับสนุนวิชาการ
แนวทางการแก้ปัญหา ได้วางแนวทางในการนำโปรแกรม e-office มาใช้ในการจัดส่งเอกสารงานสารบรรณทั้งหมดเพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลทำได้สะดวก
จากนั้นได้พูดคุยกันถึงเรื่องของข้อมูลต่างๆ ว่าข้อมูลส่วนใดที่งานประกันควรจัดเตรียมให้และข้อมูลส่วนใดที่สาขาวิชาต้องจัดส่งให้งานประกันเอง (ข้อมูลที่ปกติไม่ได้ส่งผ่านงานสารบรรณมาที่ส่วนสนับสนุนวิชาการ)

ข้อมูลที่สาขาวิชาต้องส่งให้กับงานประกันคุณภาพ มีดังนี้

  • แหล่งทุนวิจัยภายนอก ที่ไม่ผ่านคณะ ได้แก่
    • งานวิจัยที่ผ่านสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
    • งานวิจัยของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • โครงการ/กิจกรรมของนักศึกษาที่ดำเนินการแต่ไม่ระบุไว้ในแผน

ข้อมูลที่งานประกันคุณภาพจะต้องจัดส่งให้กับสาขาวิชา มีดังนี้

  • เงินงบประมาณ (ไม่รวมค่าเสื่อม)
  • เงินสนับสนุนงานวิจัย
  • นักศึกษา
  • บุคลากร

กำหนดการต่างๆ ตามแผนฯ

นอกจากนี้ตัวแทนสาขาวิชา (พี่โส่ย) ได้หารือเรื่องแผนการดำเนินงานที่ผศ.พงษ์เกียรตินำเสนอ โดยเห็นควรให้เลื่อนกำหนดการส่ง SAR จากเดือนเม.ย. ออกไป เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนมากที่สุด เมื่อปรึกษากันแล้วจึงคิดว่าช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ให้สาขาวิชาจัดส่งรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2556 ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และได้กำหนดวันตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับสาขาวิชา ประจำปีการศึกษา 2556 ระหว่างวันที่ 17 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คุณเหมี่ยว ตัวแทนศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้สอบถามถึงเอกสารที่จะส่งประกอบการจัดส่งข้อมูลโครงการที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ว่าต้องจัดทำเป็นรายงานการประชุมใช่หรือไม่ ผศ.พงษ์เกียรติจึงได้เสนอรูปแบบของการทำ BAR (Before Action Review) และ AAR (After Action Review) ที่ได้นำมาใช้ในสำนักหอสมุดกลาง สจล. และเสนอว่าสามารถใช้รูปแบบดังกล่าวแทนได้ และสะดวกในการจัดทำมากกว่าด้วย
สำหรับครั้งต่อไปจะเป็นการคั่นรายการด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการใช้งาน e-office สำหรับงานสารบรรณ

คุณลิขิต : คุณบุ๋ม
ผู้ช่วยคุณลิขิต : คุณหมู
คุณอำนวย : ผศ.พงษ์เกียรติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น